หมวดหมู่สินค้า: เครื่องดูดเสมหะ
รหัส : 7B-1
Yuwell 7B-1
แถมอุปกรณ์ครบพร้อมใช้งาน
จาก 980.00 บาท
ลดทันที 230 บาท
ราคา 750.00 บาท
31 พฤษภาคม 2566
ผู้ชม 4182 ผู้ชม
เครื่องดูดเสมหะ ชนิดมือบีบ ยี่ห้อ Yuwell 7B-1 (รับประกัน 1 ปี)
คุณสมบัติและลักษณะทั่วไป
1. รายละเอียดคุณสมบัติ
เครื่องดูดเสมหะ Yuwell 7B-1
- แรงดูดสูงสุด 0.04 MPa
- อัตราการไหลสูงสุด 200 มิลลิลิตร
- แรงดันในการดูดของตัวเครื่อง 860 ปาสกาล ถึง 1060 ปาสกาล
- ขนาด 17*15*18 เซนติเมตร
- น้ำหนัก 190 กรัม
- ความจุของขวดเก็บของเหลว 200 กรัม
- กระปุกสามารถ ถอดเปลี่ยน หรือล้างทำความสะอาดได้
- วัสดุทำจากพลาสติก แข็งแรงทนทาน
- อุณหภูมิขณะใช้งาน 5 องศา ถึง 35 องศา
- ความชื้นสัมพัทธ์ น้อยกว่า 80%
2. อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน
- คู่มือการใช้งาน 1 ชุด
- สายดูดเสมหะของผู้ใหญ่ 1 เส้น
- สายดูดเสมหะของเด็ก 1 เส้น
- กระเป๋าใส่อุปกรณ์สำหรับพกพา
3. การรับประกันสินค้า
- สินค้ารับประกัน 1 ปี เต็ม
- มีศูนย์ซ่อมบริการ ที่มีทีมช่างเทคนิคให้บริการ พร้อมให้คำปรึกษา วิธีการใช้งาน บริการตลอด 24 ชั่วโมง
สินค้าแนะนำ
คุณภาพดี การันตีงานคุณภาพ นำเข้าจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน
ลูกค้าที่ซื้อไปถูกใจทุกคน ใช้ง่าย วัสดุคุณภาพดี มีความทนทาน
สินค้ารับประกันคุณภาพ 1 ปีเต็ม
โปรโมชั่นพิเศษ
ราคาพิเศษ 750 บาท
ราคาต้นทาง ไม่ผ่านคนกลาง !!
ของแถมครบ พร้อมใช้งาน
ถูกที่สุด!! ที่นี่ที่เดียว!!
อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์เลขที่ ฆพ.2482/2563
การดูดเสมหะ (Suction)
- การดูดเสมหะ หมายถึง การนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจ โดยใช้กระบวนการปราศจากเชื้อ (Sterile Technique) นั่นก็คือ วิธีการปฏิบัติโดยการใช้เครื่องมือที่ปลอดเชื้อ หลีกเลี่ยงการปนเปื้อน ตัวอย่างเช่น การใช้สายยางดูดเสมหะที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อผ่านเข้าทางปากหรือทางจมูกของผู้ป่วย หรืออุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปในหลอดลม เช่น Endotracheal, Tracheostomy tube เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการดูดเสมหะ
- เพื่อกำจัดเสมหะในทางเดินหายใจ ในผู้ป่วยขับเสมหะออกเองไม่ได้ มีเสมหะปริมาณมาก ลักษณะเสมหะเหนียวข้น ผู้ป่วยที่ไม่สามารถกำจัดออกไปได้เองด้วยการไอ เช่นในเคส เด็กทารก ผู้ป่วยที่มีภาวะอ่อนแรง ผู้ป่วยที่ใส่ ET-tube หรือ TT-tube
- เพื่อให้ทางเดินหายใจของผู้ป่วยกว้างขึ้น
- ป้องกันเสมหะอุดกั้นภายในระบบทางเดินหายใจ
- เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
- เพื่อเก็บเสมหะตรวจ
- เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายและช่วยผ่อนคลายความกังวล
ผู้ป่วยที่มีเสมหะอุดกั้นระบบทางเดินหายใจ
- ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดัง
- อัตราชีพจรและการหายใจเพิ่มขึ้น
- เมื่อตรวจด้วยการการฟังเสียงปอดจะได้ยินเสียงผิดปกติ (Adventitions sound) เช่น Crepitation, Rhonchi เป็นต้น
- ผิวหนัง เล็บมือ หรือเล็บเท้า มีสีเขียวคล้ำจากการพร่องออกซิเจน (Cyanosis)
ข้อควรระวังในการดูดเสมหะ
- ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง
- งดการดูดเสมหะขณะมีอาหารอยู่เต็มกระเพาะ เนื่องจากจะทำให้เกิดการสำลักได้ และอาหารอาจไปอุดตันทางเดินหายใจ
- ภาวะเลือดออกผิดปกติ เลือดแข็งตัวช้า
สาเหตุการเกิดเสมหะที่เหนียวข้น
- เสมหะ หรือ เสลด (Sputum) เป็นสารเมือกที่สร้างขึ้นภายในร่างกายในระบบทางเดินหายใจ ร่างกายผลิตออกมาประมาณ 10-100 มิลลิลิตร/วัน เสมหะที่เคลือบอยู่บนผิวเนื้อเยื่อเมือกประกอบด้วย 2 ชั้น ชั้นนอกและชั้นใน เสมหะชั้นนอกจะมีความเหนียว และมีน้ำเป็นส่วนประกอบน้อยกว่าเสมหะชั้นใน เสมหะที่ร่างกายผลิตออกมามีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 95 และอีกร้อยละ 1 เป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และสารอินทรีย์
- เนื่องจากเสมหะมีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 95 ดังนั้นสาเหตุที่เสมหะเหนียวข้นจึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาวะสมดุลน้ำภายในร่างกาย หากร่างกายสูญเสียความสมดุลของปริมาณน้ำ อธิบายคือเมื่อร่างกายได้รับน้ำเข้าไปน้อยกว่าปริมาณน้ำที่ร่างกายสูญเสียหรือขับออกไป ก็จะทำให้เสมหะของผู้ป่วยมีความเหนียวข้นยิ่งขึ้น
- เมื่อมีการอักเสบหรือติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ จะมีการหลั่งสารต่างๆออกมามากขึ้น โดยเฉพาะสารในกลุ่มโปรตีน ทำให้เสมหะเหนียวข้นมากขึ้นและขับออกจึงยากยิ่งขึ้น
- วิธีกำจัดเสมหะหรือเสลดที่เหนียวข้น ผู้สูงอายุเสมหะมักจะเหนียว และแห้ง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขับระบายออก ดังนั้นการทำให้เสมหะมีความเหนียวน้อยลง และสามารถขับระบายออกได้ง่าย มีหลายวิธี เช่น กระตุ้นให้ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น การดื่มน้ำเป็นการเพิ่มน้ำให้แก่ร่างกาย ช่วยปรับสมดุลน้ำภายในร่างกายให้ปกติ จะช่วยให้เสมหะเหนียวน้อยลง โดยเฉพาะการดื่มน้ำอุ่นจะยิ่งช่วยลดความเหนียวของเสมหะได้ดีกว่าน้ำธรรมดา หรือในบางครั้งแพทย์อาจจะสั่งยาขับเสมหะหรือยาละลายเสมหะร่วมด้วย ซึ่งยาขับเสมหะและยาละลายเสมหะช่วยลดความเหนียวของเสมหะลงได้ ทำให้เสมหะเหลวขับออกได้ง่ายขึ้น
การเตรียมอุปกรณ์ในการดูดเสมหะ
- เครื่องดูดเสมหะ ให้เลือกชนิดที่เหมาะสมกับลักษณะของผู้ป่วย และเลือกตามความสะดวกของผู้ใช้งาน
- สายดูดเสมหะที่สะอาดปราศจากเชื้อ ใหเลือกขนาดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
- ท่อต่อลักษณะรูปตัว Y
- ถุงมือสะอาดปราศจากเชื้อ
- Mask
- สำลีปราศจากเชื้อ
- แอลกอฮอล์ 70%
- น้ำสะอาดปราศจากเชื้อ/ น้ำต้มสุก ใส่ในขวดขนาด 500-1000 ml. สำหรับล้างสายดูดเสมหะ
- ภาชนะใส่ถุงมือและสายดูดหลังภายหลังกานใช้งาน
การเลือกสายดูดเสมหะอย่างเหมาะสม
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของสายสำหรับดูดเสมหะที่เหมาะสม คือ ไม่เกิน ½ ของเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของท่อเจอะคอ
- สำหรับผู้ใหญ่ใช้เบอร์ 12-16 Fr.
- สำหรับเด็กใช้เบอร์ 8-10 Fr.
- การเลือกขนาดที่เหมาะสม มีความสำคัญเนื่องจากเพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ (Lung collapse) เกิดจากจากสายดูดเสมหะขนาดใหญ่จะทำให้ช่องว่างของท่อหายใจลดลงจนไม่เพียงพอ สำหรับอากาศภายนอกที่จะไหลเข้ามาแทนที่อากาศที่ดูดออก
- สำหรับการดูดเสมหะระบบปิด (Close system) จะแนะนำให้ใช้สายดูดเสมหะขนาดไม่เกิน 12 Fr.
เลือกเครื่องดูดเสมหะอย่างไรดี
- ในผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ มักจะมีอาการไอและมีการขับเสมหะออกมาเองไม่ได้ ทำให้มีเสมหะปริมาณมากติดอยู่ในลำคอขัดขวางทางเดินหายใจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว การดูแลที่สำคัญคือการดูดเสมหะจะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการสำลักและจะช่วยลดปัญหาเรื่องการติดเชื้อ
- เมื่อถึงเวลาที่ต้องย้ายออกจากโรงพยาบาลกลับมาดูแลต่อที่บ้าน ส่วนใหญ่ทางครอบครัวต้องเลือกหาซื้อเครื่องดูดเสมหะสำหรับใช้ที่บ้าน ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ ทำให้หลายท่านอาจเกิดคำถามว่า ควรเลือกเครื่องดูดเสมหะอย่างไรดี
- แนวทางการเลือกซื้อเครื่องดูดเสมหะ ยี่ห้อไหนดี เครื่องดูดเสมหะแบบพกพาในปัจจุบันมีมากมายหลายยี่ห้อ ดังนั้น การจะตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องดูดเสมหะยี่ห้อไหนดีมาใช้จึงควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้ ลักษณะของผู้ป่วย รูปแบบการใช้งาน งบประมาณ ความทนทาน คุณภาพวัสดุของตัวเครื่อง ระยะเวลาในการรับประกัน ความยากง่ายในการพกพาหรือเคลื่อนย้าย น้ำหนักของเครื่อง
ข้อแนะนำการเลือกซื้อเครื่องดูดเสมหะ
- คำนึงถึงลักษณะของผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีเสมหะที่เหนียวข้นมากจะต้องคำนึงเรื่องแรงดูดของเครื่องดูดเสมหะด้วย
- คำนึงถึงรูปแบบการใช้งานว่าเราใช้ที่บ้านอย่างเดียว และที่บ้านไฟฟ้าดับบ่อยไหม หรือมีการใช้งานระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือมีการเดินทางก็จะต้องพิจารณาเครื่องดูดเสมหะรุ่นที่มีแบตเตอรี่สำรองไฟในตัวหรือสามารถชาร์ทไฟในรถได้
- คำนึงถึงงบประมาณค่าใช้จ่าย โดยเครื่องดูดเสมหะที่จะมีให้เลือกตั้งแต่ราคาเริ่มต้น 2,500 บาท ไปจนถึงราคาหลักหมื่นขึ้นไป
- รายละเอียดอื่นๆ ที่ใช้พิจารณาในการตัดสินใจเช่น ความทนทาน คุณภาพของมอเตอร์ คุณภาพวัสดุของตัวเครื่อง ระยะเวลาในการรับประกัน น้ำหนักของตัวเครื่อง ความยากง่ายในการพกพาหรือเคลื่อนย้าย ควรจับถนัดมือ ดูแลรักษาทำความสะอาดง่าย มีคุณสมบัติป้องกันเชื้อแบคทีเรีย
- สิ่งสำคัญที่สุดคือบริการหลังการขาย แต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการรับประกันที่แตกต่างกันไป 1 ปี 2 ปี หรือรับประกันนานสุด 3 ปี ต้องสอบถามให้ชัดเจนว่าร้านที่เราซื้อนั้น มีบริการหลังการขายหรือไม่อย่างไร รับประกันกี่ปี และหากหมดระยะประกันไปแล้ว สามารถทำอย่างไรได้บ้าง
การดูดเสมหะในผู้ใหญ่
- เลือกขนาดของสายดูดเสมหะให้เหมาะสมโดยขนาดที่แพทย์แนะนำจะเป็นเบอร์ 12-16 ส่วนผู้ป่วยเจาะคอควรเลือกสายดูดเสมหะที่มีขนาดไม่เกินครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อเจาะคอ
- สอดสายดูดเสมหะให้มีความลึกที่พอดีตามคำแนะนำของแพทย์
- เตรียมความพร้อมของผู้ป่วยก่อนดูดเสมหะหากผู้ป่วยกังวลใจ เครียด อาจกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดมากขึ้นได้ ก่อนดูดเสมหะ จึงควรทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย
- ปรับแรงดันเครื่องดูดเสมหะและใช้ระยะเวลาในการดูดเสมหะให้เหมาะสมเพราะอาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บเกี่ยวกับเนื้อเยื่อโดยรอบ ภาวะปอดแฟบ (Lung collapse) หรือปัญหาการบาดเจ็บอื่นๆตามมาได้
- ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างถูกต้องและเบามือระมัดระวังอย่าให้เกิดการกระแทก
- เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อม โดยให้อยู่ใกล้หัวเตียงเพื่อให้ง่ายต่อการดูดเสมหะ
- ตรวจวัดค่าความดันของผู้ป่วย หากมีความดันสูงควรให้ผู้ป่วยผ่อนคลายก่อนที่จะดูดเสมหะ
- ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าจะทำการดูดเสมหะ เพื่อให้ผู้ป่วยเตรียมใจ เพื่อลดความกังวลของผู้ป่วยและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน
- การจัดท่าที่เหมาะสม ควรปรับระดับเตียงผู้ป่วยให้เหมาะสมสำหรับการดูดเสมหะ แนะนำปรับระดับศรีษะสูง 15-30 องศา เพื่อป้องกันการสำลัก
- ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ หากผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ควรให้ออกซิเจนที่ความเข้มข้นสูงเป็นระยะเวลา 30-60 วินาทีก่อนเริ่มทำการดูดเสมหะ
- ผู้ดูแลต้องล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดเช็ดมือให้แห้ง สวมถุงมือยางและสวมหน้ากากอนามัย
- การหยิบจับสายดูดเสมหะทุกครั้งจะต้องระวังไม่ให้สัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนเพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน จากนั้นต่อสายดูดเสมหะเข้ากับสายจากเครื่องดูดเสมหะ
- เมื่อทำการเปิดเครื่องดูดเสมหะและปรับแรงดันให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้ป่วย หรือตามที่แพทย์แนะนำ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 80-120 มิลลิเมตรปรอท
- ทำการตรวจเช็คอุปกรณ์ทั้งหมดว่าพร้อมไหม หากเตรียมอุปกรณ์ครบเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มทำการเริ่มการดูดเสมหะได้
- วิธีการดูดเสมหะทางปาก ค่อยๆใส่สายดูดเสมหะลงไปถึงโคนลิ้นช้าๆ จนผู้ป่วยมีอาการไอ แล้วดึงสายดูดเสมหะขึ้นประมาณ 1-2 เซนติเมตร โดยระหว่างใส่ ห้ามปิดสายดูดเสมหะเด็ดขาด จากนั้นเริ่มการดูดเสมหะ โดยปิดสายดูดเสมหะ ไม่เกิน 10-15 วินาทีต่อครั้ง ควรให้หยุดพัก 20-30 วินาที จึงเริ่มการดูดเสมหะครั้งต่อไป เมื่อดูดเสมหะเสร็จแล้ว ให้นำสายดูดเสมหะดูดน้ำสะอาดที่เตรียมไว้เพื่อล้างสิ่งสกปรก เมื่อล้างเสร็จแล้วให้ปลดสายที่ใช้ดูดเสมหะผู้ป่วยและถุงมือทิ้งลงถังขยะที่เตรียมไว้ ส่วนสายที่ต่อกับเครื่องให้นำกลับไปต่อที่ตัวเครื่องเหมือนเดิม จากนั้นปิดเครื่องดูดเสมหะ เมื่อเสร็จทุกขั้นตอนแล้ว ให้ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งหลังการดูดเสมหะ
- วิธีการดูดเสมหะทางจมูก นำปลายสายดูดเสมหะหล่อลื่นกับสารหล่อลื่นก่อน เพื่อลดอาการบาดเจ็บ จากนั้นจึงค่อยๆใส่สายดูดเสมหะเข้ารูจมูกช้า ๆ โดยให้สายขนานกับพื้นโพรงจมูก กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ เพื่อจะได้สอดสายดูดเสมหะได้ง่ายขึ้น โดยระหว่างใส่ห้ามปิดสายดูดเสมหะเด็ดขาด
- วิธีการดูดเสมหะในผู้ป่วยเจาะคอเจาะคอ ใส่สายดูดเสมหะเข้าไปในท่อเจาะคอ ลึกประมาณ 5-6 นิ้ว หรือจนรู้สึกว่าชนกับผนังหลอดลม ให้ขยับขึ้นมาประมาณ 1 นิ้วโดยระหว่างใส่ห้ามปิดสายดูดเสมหะเด็ดขาด ในระหว่างการดูดเสมหะให้หมุนเสมหะไปรอบๆ ท่อเจาะคอ
คลิ๊ก!! เพื่อสอบถามโปรโมชั่นเพิ่มเติม
** สอบถามข้อมูลสินค้า
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง
Line ID : @cumedicalhome
โทร. 086-368-5766
โทร. 062-046-5757
**ส่งสินค้าให้ท่านอย่างมั่นใจ รวดเร็วทันใจ จัดส่งฟรีทั่วประเทศ!!