15 ตุลาคม 2567
ผู้ชม 16836 ผู้ชม
เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด10 ลิตร ยี่ห้อ Owgels รุ่น OZ-5-01GW0
มีฟังก์ชั่นพ่นละอองยาในตัว แถมฟรี!! เครื่องดูดเสมหะ 1 เครื่อง
"เพิ่มความปลอดภัย อัปเกรดไส้กรองอากาศเป็นแบบ Hepa Filter กรองไวรัส แบคทีเรีย ฝุ่นละออง PM 2.5 ลดการติดเชื้อแทรกซ้อน"
VDO รีวิวเครื่องผลิตออกซิเจน
ทำไมต้องซื้อรุ่นนี้/จุดเด่นของรุ่นนี้ คือ
1. เป็นสินค้าเกรดที่ใช้ทางการแพทย์ (Medical grade) เกรดที่ใช้ทางการแพทย์ เมื่อปรับ Flow rate สูงขึ้น จะไม่ลดความเข้มข้นของออกซิเจน ความเข้มข้นของออกซิเจนยังคงที่ได้ค่ามาตรฐาน 93% (±3%) แม้จะเปิดเครื่องที่ Flow rate สูงสุด 10 ลิตร/นาที ก็ได้ค่าความเข้มข้น 93% (±3%)
2. สามารถใช้งานได้พร้อมกัน 2 คน
3. ไส้กรองอากาศ แบบ Hepa สามารถกรองไวรัส กรองแบคทีเรีย และฝุ่นละอองละเอียดขนาดเล็ก PM 2.5 เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน
4. มีหน้าจอแสดงผลแบบดิจิตอลตอลแสดงรายละเอียดการทำงานของเครื่อง
5. มีฟังก์ชั่นพ่นยา สามารถพ่นยาได้ด้วย
6. มีอายุการใช้งานนานกว่ารุ่นอื่นๆ สารที่เป็นตัวดักกรองออกซิเจน ซีโอไลท์ (zeolite) เป็นเกรด High quality มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่ารุ่นอื่นๆ มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 20,000 ชั่วโมง เทียบกับรุ่นอื่นทั่วๆไปในท้องตลาดมีอายุการใช้งานเพียงแค่ 10,000 ชั่วโมง
7. รับประกัน 1 ปี มีศูนย์ซ่อมบริการที่มีทีมช่างเทคนิคให้บริการ พร้อมให้คำปรึกษา วิธีการใช้งาน บริการตลอด 24 ชั่วโมง มีบริการเครื่องสำรองให้ใช้ฟรีระหว่างรอซ่อม
เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 10 ลิตร เกรดทางการแพทย์
รายละเอียดคุณสมบัติสินค้า
เครื่องผลิตออกซิเจน ยี่ห้อ Owgels รุ่น OZ-5-01GW0
- สามารถปรับอัตราการไหลของออกซิเจนได้ 0-10 ลิตร/นาที และ 0.5 – 5 ลิตร /นาที (สามารถใช้งานได้พร้อมกัน 2 คน )
- ความเข้มข้นออกซิเจน 93% ± 3%
- แรงดันออกของออกซิเจนสูงสุด 30-60kPa
- ระดับเสียงการทำงาน ≤ 60 เดซิเบลเอ
- ใช้ไฟกระแสสลับ 110-220V + 10%, 50-60 + 1 Hz กำลังไฟ 750 วัตต์
- สามารถตั้งเวลาปิดเครื่องได้ตั้งแต่ 10 นาที ถึง 300 นาทีหรือ5 ชั่วโมง โดยสามารถกดปุ่ม Timer เวลาจะเพิ่มครั้งละ 10 นาที และเมื่อกดปุ่มค้างจะทำให้เครื่องหยุดการทำงานอัตโนมัติ
- มีปุ่มป้องกันไฟตกหรือไฟกระชาก เพื่อป้องกันเครื่องไม่เกิดความเสียหายเมื่อไฟตก หรือไฟกระชาก โดยสามารถกดปุ่มรีเซ็ตเครื่องได้
- มีไส้กรองอากาศ 2 ชั้น ได้แก่
- ไส้กรองอากาศชั้นแรก เป็นลักษณะไส้กรอกหยาบ สามารถนำไปทำความสะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- ไส้กรองภายในตัวเครื่อง เป็นลักษณะไส้กรองแบบละเอียดชนิด HEPA filter สามารถกรองฝุ่นและเชื้อโรคขนาดเล็กได้
- ตัวเครื่องสามารถต่อชุดพ่นละอองยาได้ (เฉพาะรุ่น) โดยให้อัตราการพ่นละอองยาไม่ต่ำกว่า 0.18 มล./นาทีที่ช่องพ่นยา ซึ่งจะแยกออกจากช่องออกซิเจน
- มีสัญญาณไฟแจ้งเตือน 3 สถานะ ซึ่งถ้าหากเครื่องทำงานปกติจะมีไฟแสดงสถานะสีเขียว หรือไม่แสดงไฟแจ้งเตือน แต่ถ้าเครื่องตรวจพบปัญหาจะแสดงไฟแจ้งเตือนสีเหลือง หรือสีแดง ได้แก่
- ความผิดปกติด้านไฟฟ้าเข้าเครื่อง (Out of Power)
- ความเข้มข้นออกซิเจนต่ำเกินมาตรฐาน (≤82%) (Low Conc .)
- แรงดันลมผิดปกติ (Low pressure)
- แจ้งเตือนเมื่อถึงเวลาในการเปลี่ยนไส้กรองหยาบ (Replace Filter)
- หน้าจอแสดงผล แสดงรายละเอียด
- โหมดการทำงาน (Flow Rate / 10 และ 5 L/min )
- แสดงชั่วโมงการใช้งานของเครื่องสะสม (Total Time / Hr. )
- ตั้งเวลาปิดเครื่อง (Timer / min)
- สัญลักษณ์แจ้งเตือนต่าง ๆ
- ความเข้มข้นออกซิเจนต่ำเกินมาตรฐาน (≤82%) (Low Conc .)
- แรงดันลมผิดปกติ (Low pressure)
- ถึงเวลาในการเปลี่ยนไส้กรองหยาบ (Replace Filter)
- การปิดการแจ้งเตือน (Alarm Off)
- บนหน้าจอมาพร้อมปุ่มรูปแบบสัมผัส (Touch screen) ทั้งหมด 3 ปุ่ม คือ
- Oxygen (โหมดผลิตออกซิเจน)
- Exchange (ปุ่มเพื่อเปลี่ยนโหมดระหว่าง 10 ลิตร / นาที อย่างเดียวและใช้10 พร้อมกับ 5 ลิตร / นาที)
- Timer (ปุ่มควบคุมการตั้งเวลาปิดเครื่อง)
อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน
- คู่มือการใช้งาน 1 ชุด
- กระปุกน้ำให้ความชื้น 1 ชุด
- ชุดพ่นยา 1 ชุด
การรับประกันสินค้า
- สินค้ารับประกัน 1 ปี
สินค้าแนะนำ
คุณภาพดี การันตีงานคุณภาพ นำเข้าจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน
ลูกค้าที่ซื้อไปถูกใจทุกคน ใช้ง่าย วัสดุคุณภาพดี มีความทนทาน
สินค้ารับประกันคุณภาพ 1 ปี
โปรโมชั่นพิเศษ
ราคาพิเศษ 29,000 บาท
ราคาต้นทาง ไม่ผ่านคนกลาง !!
ของแถมครบ พร้อมใช้งาน
ถูกที่สุด!! ที่นี่ที่เดียว!!
สุดคุ้ม !! รายการของแถมฟรี
- สายเสียบจมูก (Oxygen Cannula) 3 เส้น
- ชุดหน้ากากออกซิเจนชนิด Mask with Bag 2 ชุด
- ชุดสายอุปกรณ์พ่นยา 1 ชุด
- ชุดไส้กรองสำรอง 1 ชุด
- น้ำกลั่นทางการแพทย์ 500 ml. 2 ขวด
- แถมฟรี!! เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หรือ เครื่องวัดความดัน หรือ เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด 1 เครื่อง
- แถมฟรี!! เครื่องดูดเสมหะ 1 เครื่อง
ให้ของแถมเยอะที่สุด!! ที่นี่ที่เดียว!!
FREE !! บริการพิเศษ
- ฟรี ตรวจเช็คสภาพเครื่องประจำปี
- ฟรี เครื่องสำรองระหว่างรอซ่อม
- ฟรี สอนอบรมการใช้งานเครื่อง
- ฟรี สอนดูแลรักษาสภาพเครื่อง
ด้วยทีมช่างผู้ชำนาญ !! ที่นี่ที่เดียว!!
อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์เลขที่ ฆพ. 698/2564
คำเตือนในการเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจน
เครื่องผลิตออกซิเจน สินค้าเกรดที่ใช้ทางการแพทย์ (Medical grade) ความเข้มข้นของออกซิเจน จะต้องได้ค่ามาตรฐาน 93% (±3%)
Flow rate และความเข้มข้นของออกซิเจน
1 ลิตร/นาที ความเข้มข้น 93% (±3%)
2 ลิตร/นาที ความเข้มข้น 93% (±3%)
3 ลิตร/นาที ความเข้มข้น 93% (±3%)
4 ลิตร/นาที ความเข้มข้น 93% (±3%)
5 ลิตร/นาที ความเข้มข้น 93% (±3%)
6 ลิตร/นาที ความเข้มข้น 93% (±3%)
7 ลิตร/นาที ความเข้มข้น 93% (±3%)
8 ลิตร/นาที ความเข้มข้น 93% (±3%)
9 ลิตร/นาที ความเข้มข้น 93%(±3%)
10 ลิตร/นาที ความเข้มข้น 93 (±3%)
**หากเป็นสินค้าที่ไม่ได้ตามมาตรฐานด้านการแพทย์เมื่อปรับ Flow rate สูงขึ้น จะลดความเข้มข้นของออกซิเจนลงไปเรื่อยๆ**
เครื่องผลิตออกซิเจน เกรดทางการแพทย์ มียี่ห้ออะไรให้เลือกบ้าง
ข้อควรในการเลือกเครื่องผลิตออกซิเจน
- เครื่องผลิตออกซิเจนเกรดทางการแพทย์จะสามารถผลิตออกซิเจนที่มีความบริสุทธิ์ มากกว่า 90% (-3%) ที่ระดับการจ่ายออกซิเจนสูงสุด เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาผู้ป่วย
- อายุการใช้งานที่ยาวนาน เครื่องผลิตออกซิเจนแต่ละรุ่นจะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ต่ำสุด 10,000 ชั่วโมง 12,000 ชั่วโมง 20,000 ชั่วโมง จนไปถึง 30,000 ชั่วโมง อายุการใช้งานของเครื่องจะขึ้นอยู่กับคุณภาพและปริมาณของสารซีโอไลท์ (zeolite) ซึ่งจะถูกบรรจุอยู่ในกระบอกด้านหลังของตัวเครื่อง ทำหน้าที่ในการการดูดซับไนโตรเจนออกจากอากาศเพื่อผลิตออกซิเจนบริสุทธิ์ออกมา หากเครื่องผลิตออกซิเจนหมดอายุการใช้งานจะมีสัญญาณไฟเตือนให้เปลี่ยนกระบอกสารซีโอไลท์ (zeolite)
- ชนิดของไส้กรองอากาศ ปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดคุณภาพและราคาของเครื่องผลิตออกซิเจนก็คือ "ไส้กรองอากาศ" ซึ่งในปัจจุบันจะมีหลายเกรดเรียงตามคุณภาพได้ดังนี้ ไส้กรองแผ่นกระดาษธรรมดา ไส้กรองชนิดฟองน้ำละเอียด ไส้กรองชนิด HEPA Filter ที่เป็นเกรดคุณภาพสูงสุด กำหนดเป็นมาตรฐานของยุโรปและอเมริกา ไส้กรองชนิด HEPA Filter จะมีราคาแพงแต่ให้ความปลอดภัยกว่าไส้กรองอากาศชนิดอื่นๆ สามารถกรองเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรียและฝุ่น PM 2.5
- ต้องมีตัวตรวจสอบความเข้มข้นของออกซิเจน (Oxygen Monitor) เครื่องผลิตออกซิเจนที่ดีต้องสามารถผลิตออกซิเจนที่มีความเข้มข้นที่ได้มาตรฐานตลอดเวลา มากกว่า 90% (-3%) ดังนั้นเครื่องต้องมีตัวตรวจสอบ%ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ปล่อยออกมา และมีสัญญาณเตือนเมื่อความเข้มข้นออกซิเจนลดลงต่ำกว่าค่ามาตรฐาน
- มีอัตราการกินไฟต่ำ โดยให้ดูจากอัตราการกินไฟ (วัตต์ต่อชั่วโมง) ให้เลือกเครื่องที่มีอัตราการกินไฟต่ำ จะได้ประหยัดค่าไฟฟ้า
- ต้องสามารถเปิดใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนาน
- ต้องเลือกเครื่องผลิตออกซิเจนรุ่นที่เสียงเบา โดยเฉพาะหากต้องเปิดในช่วงเวลากลางคืนก็ควรเลือกเครื่องผลิตออกซิเจนรุ่นที่เสียงเบาที่สุดจะได้ไม่รบกวนผู้ป่วยเวลานอนหลับ โดยดูได้จากค่าระดับเสียงซึ่งมีหน่วยวัดเป็นเดซิเบล
เครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator)
- เครื่องผลิตออกซิเจนสำหรับใช้ทางการแพทย์ เพื่อใช้บำบัดสำหรับผู้ป่วยที่ขาดแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
- เครื่องผลิตออกซิเจนเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการได้รับออกซิเจนเสริมอย่างต่อเนื่อง
-
เครื่องผลิตออกซิเจนจัดเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจน เมื่อวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนจากปลายนิ้ว (SpO2) จะได้ค่าน้อยกว่า 90 % ใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคมะเร็งปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD) โรคถุงลมโป่งพอง (Pulmonary emphysema) และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) ไข้หวัด โควิด-19 เป็นต้น
เครื่องผลิตออกซิเจน มี 2 ประเภท
- เครื่องผลิตออกซิเจนใช้ในบ้าน (Oxygen Concentrator for Home Use) เครื่องผลิตออกซิเจนสำหรับใช้ในบ้านแบ่งออกเป็นขนาดต่างๆ ตามสเปกของเครื่องผลิตออกซิเจน อัตราการไหลของปริมาณออกซิเจนต่อนาที ได้แก่ เครื่องผลิตออกซิเจน ขนาด 3 ลิตร 5 ลิตร 6 ลิตร 8 ลิตร 10 ลิตร และ 10 ลิตรชนิดแรงดันสูง 20PSI จำเป็นต้องเลือกเครื่องผลิตออกซิเจนให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ว่าผู้ป่วยควรจะต้องให้ออกซิเจนในอัตรากี่ลิตร/นาที เพื่อพิจารณาว่าควรจะเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนอย่างไรขนาดใดถึงจะเหมาะสมกับผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องพ่นยาด้วยหรือไม่ ถ้าหากผู้ป่วยต้องพ่นยาในระหว่างทำการรักษาก็จำเป็นต้องเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนที่มีฟังก์ชั่นพ่นยาในตัว และยังต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วย เช่น ถ้าเป็นเคสที่ผู้ป่วยเจาะคอใช้อุปกรณ์สายงวงช้าง (Corrugated Tube) ก็อาจจะต้องเลือกเครื่องผลิตออกซิเจนที่มีแรงดันสูงชนิด 20PSI เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานและให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เครื่องผลิตออกซิเจนประเภทนี้จะใช้ไฟฟ้าตามบ้าน เสียบปลั๊กไฟเหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป หากต้องให้ออกซิเจนในเวลากลางคืนช่วงเวลานอนควรเลือกเครื่องที่เสียงเบาจะได้ไม่รบกวนเวลานอนพักผ่อน และในบางเคสที่แพทย์สั่งให้ต้องรับออกซิเจนเป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน อาจทำให้ต้องเปิดเครื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน ก็ควรเลือกเครื่องรุ่นที่ประหยัดพลังงาน กินไฟน้อยจะช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้า
- เครื่องผลิตออกซิเจน สำหรับใช้นอกสถานที่เมื่อมีการเดินทาง ที่เรามักจะเรียกว่า "เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา" "Portable Oxygen Concentrator" เป็นเครื่องผลิตออกซิเจนขนาดเล็ก น้ำหนักเบา มีตั้งแต่ 2-8 กิโลกรัม ส่วนใหญ่จะมีกระเป๋าสะพายมากับตัวเครื่อง สามารถสะพายพกพาไปในที่ต่างๆได้อย่างสะดวก บางรุ่นสามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพาจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ บางรุ่นจะแถมแบตเตอรี่มาให้หลายก้อนเพื่อสำรองในกรณีที่ต้องเปลี่ยนถ่ายแบตเตอรี่ในขณะเดินทาง หรือในยามที่อยู่นอกบ้านไม่สามารถชาร์จไฟได้ นอกจากนี้บางรุ่นจะสามารถพ่วงต่อกับไฟรถยนต์ได้ด้วย
เครื่องผลิตออกซิเจนพกพา
- เครื่องผลิตออกซิเจนพกพาที่ปล่อยออกซิเจนแบบต่อเนื่อง (Continuous Dose)
เครื่องผลิตออกซิเจนพกพาชนิด Continuous Dose จะเป็นระบบที่ปล่อยออกซิเจนอยู่ตลอดเวลา ทำให้เครื่องยังคงใช้ไฟค่อยข้างมาก น้ำหนักมาก เหมาะสำหรับใช้ต่อพ่วงกับไฟรถยนต์เป็นหลัก ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยรถยนต์ ไม่เหมาะสำหรับพกพาไปในที่ต่างๆในแบบอิสระ เนื่องจากเครื่องมีขนาดใหญ่ น้ำหนักเยอะประมาณ 6-8 กิโลกรัม ทำให้ไม่คล่องตัว
- เครื่องผลิตออกซิเจนพกพาที่ปล่อยออกซิเจนตามจังหวะการหายใจของผู้ป่วย (Pulse Dose)
เครื่องผลิตออกซิเจนพกพาชนิด Pulse Dose จะเป็นระบบที่จับสัญญาณเซนเซอร์ปล่อยออกซิเจนตามจังหวะการหายใจของผู้ป่วย ไม่ได้ปล่อยออกตลอดเวลา คล้ายการหายใจตามธรรมชาติ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกอึดอัด ข้อดีของเครื่องผลิตออกซิเจนพกพาแบบ Pulse Dose คือเครื่องจะทำงานตามจังหวะการหายใจ ตามความต้องการของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงตามระดับกิจกรรมที่ทำในขณะนั้นๆ ในขณะที่กำลังนั่งพัก อัตราการหายใจและความต้องการออกซิเจนจะต่ำกว่าในขณะที่กำลังทำกิจกรรมต่างๆเช่นเดินเร็ว ร่างการจะหายใจเร็วขึ้นถี่ขึ้น และนอกจากนี้เครื่องผลิตออกซิเจนพกพาชนิด Pulse Dose ยังออกแบบให้มีขนาดเล็กกว่า และน้ำหนักเบากว่า สะดวกในการพกพาไปในที่ต่างๆได้อย่างอิสระ ช่วยให้สามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องตัว
กลไกการทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator)
- เครื่องผลิตออกซิเจนทำงานโดยอาศัยหลักการ pressure swing adsorption หรือ PSA โดยจะใช้ ซีโอไลท์ (zeolite) เพื่อทำการดูดซับไนโตรเจนออกจากอากาศที่ความดันสูง ไนโตรเจนจะยึดตัวติดกับผิวของซีโอไลท์ และไนโตรเจนจะถูกปล่อยออกมา พร้อมทั้งปล่อยออกซิเจนที่เกือบจะบริสุทธิ์ออกมา โดยทั่วไปออกซิเจนที่ได้จากเครื่องผลิตออกซิเจนจะมีสิ่งเจือปน คืออาร์กอน, CO₂, และไอน้ำเล็กน้อย ออกซิเจนจากเครื่องออกซิเจนนี้จะมีความบริสุทธิ์ได้สูงสุดที่ 96%
การเลือกเครื่องผลิตออกซิเจนให้เหมาะกับอุปกรณ์ให้ออกซิเจน
- จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้เครื่องผลิตออกซิเจน การใช้โดยไม่มีคำแนะนำจากแพทย์อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ หากแพทย์วินิจฉัยว่าโรคที่กำลังเป็นอยู่นั่นสมควรจะต้องได้รับออกซิเจนเสริม แพทย์จะทำการแนะนำว่าผู้ป่วยควรได้รับปริมาณออกซิเจนเท่าไหร่(อัตราการไหลของออกซิเจน/นาที) และต้องให้ออกซิเจนนานแค่ไหน (ให้วันละกี่ชั่วโมง) และต้องใช้กับอุปกรณ์ชนิดใด ตัวอย่างอุปกรณ์ให้ออกซิเจนที่นิยมใช้กัน ได้แก่
- Nasal cannula หรือสายเสียบจมูก อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้สำหรับการให้ออกซิเจนในอัตราการไหลที่ 1-5 ลิตร/นาที ไม่ควรใช้อัตราการไหลของออกซิเจนที่สูงเกินไปเนื่องจากจะทำให้เยื่อบุจมูกแห้งและแสบจมูกได้ ข้อดีของการใช้อุปกรณ์ชนิดนี้คือ ประหยัด สามารถติดยึดกับผู้ป่วยได้ง่ายกว่าแบบหน้ากาก และยังสามารถให้อาหารแก่ผู้ป่วยทางปากได้โดยไม่ต้องหยุดให้ออกซิเจน แต่มีข้อจำกัดในการใช้ในผู้ป่วยที่มีน้ำมูกมาก มีสารคัดหลั่งในโพรงจมูกมาก เยื่อบุจมูกบวม หรือผนังจมูกเอียง
- Simple face mask เป็นหน้ากากออกซิเจนที่ครอบบริเวณจมูกและปาก มีสายรัดศรีษะเพื่อให้หน้ากากยึดติดกับใบหน้าผู้ป่วย ควรใส่ให้แนบสนิทกับใบหน้าผู้ป่วย อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้สำหรับการให้ออกซิเจนในอัตราการไหลที่ 5-10 ลิตร/นาที ไม่ควรเปิดต่ำกว่า 5 ลิตร/นาที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการคั่งค้างของก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผู้ป่วยหายใจออกไป
- Partial-rebreathing mask เป็นหน้ากากออกซิเจนคล้ายๆกับ simple face mask แต่ต่างกันที่จะมีถุง reservoir bag ที่ปลายด้านหนึ่งของหน้ากาก อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้สำหรับการให้ออกซิเจนในอัตราการไหลที่ 6-10 ลิตร/นาที และควรปรับอัตราการไหลของออกซิเจนให้ถุง reservoir bag โป่งอยู่เสมอ
- Non-rebreathing mask เป็นหน้ากากออกซิเจนมีลักษณะเช่นเดียวกับ partial-rebreathing mask แต่มีช่องกั้น 2 ช่องเพื่อป้องกันการผสมกันของลมหายใจออกและออกซิเจนบริสุทธ์ที่ออกมาจากตัวเครื่องผลิตออกซิเจน อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้สำหรับการให้ออกซิเจนในอัตราการไหลที่ 8-10 ลิตร/นาที
เครื่องผลิตออกซิเจน ยี่ห้อไหนดี
เครื่องผลิตออกซิเจน ยี่ห้อไหนดี
เครื่องผลิตออกซิเจน ยี่ห้อไหนดี
คลิ๊ก!! เพื่อสอบถามโปรโมชั่นเพิ่มเติม
** สอบถามข้อมูลสินค้า
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง
Line ID : @cumedicalhome
โทร. 086-368-5766
โทร. 062-046-5757
**ส่งสินค้าให้ท่านอย่างมั่นใจ รวดเร็วทันใจ จัดส่งฟรีทั่วประเทศ!!