29 มีนาคม 2566
ผู้ชม 453 ผู้ชม
เครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอลพกพา (แบบสายรัดข้อมือ) ยี่ห้อ Yuwell รุ่น YE8900A
สินค้าแบรนด์ดัง ราคาประหยัด (รับประกัน 5 ปี)
"ขนาดเล็ก ดีไซน์ทันสมัย คุ้มราคา"
ข้อบ่งใช้เครื่องวัดความดัน
- เครื่องวัดความดัน Yuwell ใช้วัดความดันโลหิตในบุคคลทั่วไป เพื่อตรวจสอบแรงดันของหลอดเลือดและการบีบคายตัวของหัวใจรวมไปถึงอัตราการเต้นของหัวใจ
คุณสมบัติและลักษณะทั่วไป
1. รายละเอียดทั่วไป
เครื่องวัดความดันแบบสายรัดข้อมือ Yuwell YE8900A
- แสดงผลการวัดได้ทั้งความดันโลหิตและอัตราการเต้นชีพจร
- จอแสดงผลดิจิตอลแบบ LCD
- เก็บข้อมูลการวัดได้สูงสุด 60 บันทึก
- ใช้แบตเตอรี่ขนาด AAA 2 ก้อน
- รอบวงข้อมือที่สามารถวัดได้ 13.5cm – 19.5cm
- แสดงค่าเฉลี่ยของผลการวัดสามครั้งล่าสุด
- ค่าความคลาดเคลื่อนในการวัดความดัน +/- 3mmHg (+/- 0.4kPa)
- ค่าความคลาดเคลื่อนในการวัดอัตราชีพจร 5%
- สามารถฆ่าเชื้อด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 75% ได้
- เครื่องจะปิดอัตโนมัติภายใน 120 วินาที หากไม่มีการใช้งานใด ๆ
2. อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน
- เครื่องวัดความดันแบบสายรัดข้อมือ Yuwell YE8900A 1 เครื่อง
- ถ่าน AA 2 ก้อน
- คู่มือการใช้งาน 1 ชุด
4. การรับประกันสินค้า
- สินค้ารับประกัน 5 ปี เต็ม
- มีศูนย์ซ่อมบริการ ที่มีทีมช่างเทคนิคให้บริการ พร้อมให้คำปรึกษา วิธีการใช้งาน บริการตลอด 24 ชั่วโมง
สินค้าแนะนำ
คุณภาพดี การันตีงานคุณภาพ นำเข้าจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน
ลูกค้าที่ซื้อไปถูกใจทุกคน ใช้ง่าย วัสดุคุณภาพดี มีความทนทาน
สินค้ารับประกันคุณภาพ 5 ปีเต็ม
โปรโมชั่นพิเศษ
ราคาพิเศษ 1,290 บาท
ราคาต้นทาง ไม่ผ่านคนกลาง !!
อุปกรณ์พร้อมใช้งาน
ถูกที่สุด!! ที่นี่ที่เดียว!!
อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์เลขที่ ฆพ.2472/2563
โรคความดันโลหิตสูง
- โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะแรงกดดันในหลอดเลือดแดงที่มีค่าสูงเกินปกติ จะวัดค่าความดันได้ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีความดันเลือดปกติจะวัดค่าความดันได้ 120/80 มิลลิเมตรปรอท โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวโดยเฉพาะต่อการทำงานของหัวใจ ความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการอะไร แต่มีการทำลายอวัยวะต่างๆ ไปทีละน้อยอย่างช้าๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคร้ายตามมา เช่น ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ อัมพาต อัมพฤกษ์ เป็นต้น ความดันโลหิตสูงหากปล่อยไว้นาน ไม่รักษา อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบภายในร่างกายดังนี้
ภัยร้ายของโรคความดันโลหิตสูง
- ความดันโลหิตสูงส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัว หลอดเลือดหัวใจหนาตัว และถ้าไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต หัวใจขาดเลือด และหัวใจวายได้
- ความดันโลหิตสูงส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงที่ไตไม่เพียงพอ ทำห็เกิดไตวายเรื้อรังตามมา
- ความดันโลหิตสูงส่งผลให้หลอดเลือดตีบ โป่งพอง เลือดไปเลี้ยงอวัยวะได้น้อยลง
- ความดันโลหิตสูงมีผลต่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาเสื่อม การมองเห็นมีปํญหา
- ความดันโลหิตสูงอาจเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการ ไม่มีอาการผิดปกติหรือสัญญาณเตือน ยกเว้นผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรงก็อาจมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจได้สั้นลง เลือดกำเดาไหล ปวดมึนท้ายทอย หรือรู้สึกตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆ เหมือนไมเกรน ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ และอาจเป็นอันตรายจนทำให้เสียชีวิตได้
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงโรคความดันสูง
ความน่ากลัวของโรคความดันเลือดสูงคือผู้ป่วยส่วนใหญ่ ไม่สามารถตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ว่าเกิดขึ้นจากอะไร โดยทางการแพทย์นั้นได้อธิบายโรคความดันเลือดสูงนี้ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์ เช่น เกิดจากกรรมพันธุ์ และอายุที่มากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะพบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไปหรือวัยหมดประจำเดือน
วิธีวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน
- ไม่ควรดื่มชา กาแฟ ไม่ควรสูบบุหรี่ หรือออกกำลังกายก่อนทำการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน อย่างน้อย 30 นาที
- ก่อนทำการวัดความดัน ควรถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย
- ควรนั่งเก้าอี้โดยให้หลังพิงพนักเพื่อไม่ให้หลังเกร็ง และเท้าทั้ง 2 ข้างควรวางราบกับพื้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายเป็นเวลา 5 นาที ก่อนวัดความดันโลหิต
- วัดความดันโลหิตในแขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความดันโลหิตสูงกว่า โดยวางแขนให้อยู่ในระดับเดียวกันกับหัวใจ
- ขณะวัดความดันโลหิตไม่กำมือ ไม่พูดคุย ไม่ขยับตัวไปมา
การอ่านค่าบนเครื่องวัดความดัน
- การวัดความดันโลหิต ค่าความดันที่วัดได้จากเครื่องวัดความดัน จะออกมา 2 ค่า คือ ค่าความดันตัวบนและค่าความดันตัวล่าง ซึ่งตัวเลขทั้งสองค่าจะรายงานเป็นมิลลิเมตรปรอท (mm/Hg) โดยระดับความดันทั้ง 2 ค่า ยิ่งสูงมากก็ยิ่งจะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้มากขึ้นตามลำดับ
- ค่าความดันตัวบน คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 140 (mm/Hg) ขึ้นไป
- ค่าความดันตัวล่าง คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 90 (mm/Hg) ขึ้นไป
- ค่าความดันโลหิตสูงเล็กน้อย 140 - 159 (mm/Hg) และ 90 - 99 (mm/Hg)
- ค่าความดันโลหิตสูงปลานกลาง 160 - 179 (mm/Hg) และ100 - 109 (mm/Hg)
- ค่าความดันโลหิตสูงมาก มากกว่า 180 (mm/Hg) และ มากกว่า 110 (mm/Hg)
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีความดันสูง
- หากทราบว่าตนเองเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา การรักษาความดันโลหิตถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดตามมา การตรวจวินิจฉัยแพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียด ดูการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ตรวจภาวะหัวใจโต ตรวจภาวะไตเสื่อม และตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ รวมถึงตรวจหาโรคร่วมที่มาพร้อมกับความดันโลหิตสูง เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
- สามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วยการลดกินเกลือโซเดียม หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสเค็ม หรืออาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป เช่น กะปิ นํ้าปลา ของหมักดอง
- ควรรับประทานอาการให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก และผลไม้ชนิดที่ไม่หวาน
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสหวาน หรือน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน ขนมหวาน
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อติดมัน หนังสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม อาหารประเภทผัดหรือทอควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยลง
- งดสูบบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- รักษาสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอไม่ให้เกิดความเครียด
คลิ๊ก!! เพื่อสอบถามโปรโมชั่นเพิ่มเติม
** สอบถามข้อมูลสินค้า
ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง
Line ID : @cumedicalhome
โทร. 086-368-5766
**ส่งสินค้าให้ท่านอย่างมั่นใจ รวดเร็วทันใจ จัดส่งฟรีทั่วประเทศ!!