shopup.com
หน้ากากแบบสอดจมูกสำหรับเครื่อง CPAP (Nasal Pillow Mask) หน้ากากแบบสอดจมูกสำหรับเครื่อง CPAP (Nasal Pillow Mask) หน้ากากแบบสอดจมูกสำหรับเครื่อง CPAP (Nasal Pillow Mask) หน้ากากแบบสอดจมูกสำหรับเครื่อง CPAP (Nasal Pillow Mask) หน้ากากแบบสอดจมูกสำหรับเครื่อง CPAP (Nasal Pillow Mask) หน้ากากแบบสอดจมูกสำหรับเครื่อง CPAP (Nasal Pillow Mask) หน้ากากแบบสอดจมูกสำหรับเครื่อง CPAP (Nasal Pillow Mask) หน้ากากแบบสอดจมูกสำหรับเครื่อง CPAP (Nasal Pillow Mask)
รหัส : YP-01
ลูกค้าสามารถนำคูปองส่วนลด มูลค่า 2,000 บาท ที่ได้จากการซื้อเครื่อง CPAP มาแลกซื้อหน้ากากได้ มีขนาด Size S เล็ก, Size M กลาง, Size L ใหญ่
ราคา 3,500.00 บาท

23 มีนาคม 2567

ผู้ชม 312 ผู้ชม

หน้ากากแบบสอดจมูกสำหรับเครื่อง CPAP (Nasal Pillow Mask)

 

คุณสมบัติ

  1. ข้อต่อขนาด 22 มม.
  2. น้ำหนัก 85 กรัม
  3. แรงดันรักษาที่สามารถใช้งานได้ 4-20 cmH2O
  4. Flow resistance (At 50 L/min) ≤ 1.0 cmH2O
  5. Flow resistance (At 100 L/min) ≤ 3.5 cmH2O)
  6. โครงสร้างแบบไร้กรอบ ไม่ทำให้รำคาณหรืออึดอัด
  7. ข้อต่ออิสระหมุนได้ 360 องศา
  8. ช่องระบายอากาศแบบรังผึ้ง ระบายอากาศได้ดี ลดเสียงรบกวน
  9. ข้อต่อแบบปลดเร็ว ใช้งานง่าย สะดวกสบายมากกว่า
  10. ผ้ารัดศรีษะน้ำหนักเบา และทนทาน ผลิตจากผ้านุ่มเป็นมิตรกับผิว ช่วยให้ใส่สบาย

 

สินค้าแนะนำ

คุณภาพดี การันตีงานคุณภาพ นำเข้าจากโรงงานที่ได้มาตราฐาน

ลูกค้าที่ซื้อไปถูกใจทุกคน ใช้ง่าย วัสดุคุณภาพดี มีความทนทาน 

สินค้ารับประกันคุณภาพ

 

โปรโมชั่นพิเศษ

ราคาพิเศษ 3,500 บาท 
ราคาต้นทาง ไม่ผ่านคนกลาง !!

ของแถมครบ พร้อมใช้งาน

ถูกที่สุด!! ที่นี่ที่เดียว!!

หน้ากาก เครื่อง Cpap Bipap แบบสายเสียบจมูก

 

อาการนอนกรน คืออะไร

อาการนอนกรนเกิดจากการที่ช่องทางเดินหายใจส่วนต้นเกิดการตีบแคบลง ทำให้ลมหายใจที่ผ่านเข้ามาผ่านช่องที่แคบนี้เกิดการกระพือ และกลายเป็นเสียงกรนขึ้น โดยปกติเมื่อมีการนอนหลับ กล้ามเนื้อต่างๆ จะหย่อนตัวหรือคลายตัว เมื่ออวัยวะในช่องทางเดินหายใจ เช่น เพดานอ่อน หรือโคนลิ้น หย่อนตัวหรือคลายตัวจะตกลงมาทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบลงได้ โดยเฉพาะเวลาที่อยู่ในท่านอนหงาย เมื่อทางเดินหายใจแคบตัวลง เวลาที่หายใจเอาอากาศจากภายนอกเข้ามา ลมที่ผ่านช่องที่แคบตัวลงนี้ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวเกิดการกระพือหรือสั่นสะเทือน เกิดเป็นเสียงกรนขึ้น

 

อาการนอนกรน ส่งผลกระทบอย่างไร

  1. การนอนกรนส่งเสียงดังรบกวนการนอนผู้อื่น นอนกรนเสียงดังจนต้องสะกิดปลุกกลางดึก จนบางครั้งต้องแอบไปนอนคนเดียวเพื่อไม่ให้คนรอบข้างรู้สึกไม่ดี การส่งเสียงดังน่ารำคาญอาจเป็นสาเหตุทำให้ความสัมพันธ์แย่ลงได้
  2. รู้สึกว่านอนไม่อิ่ม มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่สดชื่นหลังตื่นนอน ทั้งที่มีเวลานอนเพียงพอ หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียบ่อยกว่าปกติ ความคิดความสามารถในการจดจำลดลง และอาการจะหนักขึ้นถ้ามีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานยานอนหลั
  3. ง่วงนอนบ่อย หรือหลับง่ายในช่วงกลางวัน ขณะทำงานหรือเรียนหนังสือจนถึงขั้นมีอันตราย เช่น อุบัติเหตุเกี่ยวกับรถยนต์ (หลับใน) หรืออุบัติเหตุเกี่ยวกับเครื่องจักรต่างๆ
  4. การนอนกรนมักจะสลับกับหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ทำให้สะดุ้งตื่น หรือพลิกตัวตอนนอน นอนกระสับกระส่าย เหงื่อออกผิดปกติขณะหลับ นอนกรนแล้วสะดุ้งเฮือกเพื่อหาอากาศหายใจ โดยที่ผู้นอนกรนอาจจะไม่ตื่นรู้สึกตัวเลย
  5. ปากแห้ง คอแห้งในตอนเช้า เพราะต้องหายใจทางปากทั้งคืน
  6. ส่วนอาการร่วมอื่นๆ ได้แก่ ปัสสาวะกลางคืนบ่อยครั้ง รู้สึกไม่สดชื่นในตอนเช้าและพบว่ามีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ ง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการการนอน และหาแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

อาการนอนกรน อันตรายแค่ไหน

อาการนอนกรน เกิดจากการที่ช่องทางเดินหายใจของเราเกิดตีบแคบลง เนื่องจากกล้ามเนื้อต่างๆ ในบริเวณนั้น เช่น โคนลิ้น มีการหย่อนตัวลง ทำให้ลมที่ผ่านช่องแคบนี้ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการสั่นกระพือ เป็นเสียงกรนดังขึ้น และบางครั้ง กล้ามเนื้อที่หย่อนตัวลงนี้ อาจหย่อนจนมาปิดช่องทางเดินหายใจของเราจนปิดสนิท เกิดเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ OSA (Obstructive Sleep apnea) 

การนอนกรนขั้นที่เป็นอันตราย (Snoring with obstructive sleep apnea) คนที่นอนกรนขั้นนี้มักจะกรนเสียงดัง และมีอาการคล้ายสำลัก หรือสะดุ้งตื่นกลางดึก ตื่นขึ้นมาด้วยอาการอ่อนเพลียไม่สดชื่น หรือปวดศีรษะ และต้องการนอนต่ออีกทั้งที่ใช้เวลานอน 7- 8 ชม.แล้ว กลางวันบางคนอาจมีอาการง่วงนอน หลงลืม ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห รวมทั้งมีความรู้สึกทางเพศลดลงซึ่งการนอนกรนชนิดนี้อาจนําไปสู่การหยุดหายใจขณะหลับได้

การนอนกรนเพียงนอกจากส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า ไม่สดชื่นระหว่างวัน และยังมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติของการหายใจ คือมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ การนอนกรนจึงทำให้คุณภาพการนอนไม่ดี การนอนหลับไม่ต่อเนื่อง นอนหลับไม่สนิท จนกลายเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพโรคเรื้อรังทั้งหลาย ส่งผลต่อทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย สุขภาพจิตเสีย สมาธิและความจำไม่ดี การเผาผลาญอาหารของร่างกายด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้เกิดโรคอ้วนและเบาหวานได้

อันตรายและภัยร้ายที่คาดไม่ถึงของการนอนกรนคือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมไปถึงการเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับสมองและหลอดเลือดหัวใจ อาทิ โรคความดันโลหิตสูง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคของหลอดเลือดสมอง และยังอาจทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงส่งผลให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้

 

นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ Obstructive Sleep Apnea (OSA)

อาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดขึ้นเฉพาะขณะหลับเท่านั้น เพราะสมองกําลังพักผ่อนทําให้กล้ามเนื้อบริเวณนี้ทํางานน้อยลง ท่อทางเดินหายใจส่วนต้นก็จะฟีบเข้าหากันเหมือนการดูดหลอดกาแฟ ทําให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ เนื่องจากขาดอากาศหายใจจึงต้องพยายามหายใจแรงขึ้น เพื่อเปิดทางเดินหายใจนี้เมื่อสมองถูกกระตุ้นให้ตื่นบ่อยๆ ทําให้หลับไม่ลึกและรู้สึกง่วงนอนตอนกลางวัน เพลีย และไม่สดชื่นเหมือนพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบอื่นๆ ตามมา เช่น ประสิทธิภาพการทํางานลดลง ความจําไม่ดี หงุดหงิดง่าย ง่วง หลับใน และหากทิ้งไว้ในระยะยาวโดยไม่ได้รักษาอาจนําไปสู่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคซึมเศร้า

 

ผลเสียของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ Obstructive Sleep Apnea (OSA)

ภาวะนี้จะทำให้สมองและร่างกายไม่ได้พักผ่อน และการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ จะผิดเพี้ยนไป เกิดผลเสียต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว

  1. ผลเสียระยะสั้นของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คือ เมื่อสมองถูกกระตุ้นให้ตื่นซ้ำๆตลอดทั้งคืน ผู้ที่มีภาวะนี้จึงรู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นเช้า มีอาการปวดหัวหรือมึนหัวตอนเช้าๆ อาการที่สังเกตได้ง่ายอีกอย่างหนึ่ง คือ มักจะรู้สึกง่วงนอนมากตอนกลางวัน อ่อนเพลีย นั่งเฉยๆ ก็หลับ ต้องดื่มกาแฟปริมาณมาก ง่วงนอนหรือหลับในขณะขับรถ หากเป็นมานานสักระยะ ความจำและสมาธิมักจะลดลง หงุดหงิดง่ายขึ้น ความเฉียบคมทางความคิดและประสิทธิภาพในการตัดสินใจแย่ลง เป็นต้น
  2. ผลเสียระยะยาวของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คือ สาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่อเนื่อง เพราะการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth hormone) และฮอร์โมนอื่นๆ ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกายจะเกิดได้ดีเมื่อเราหลับสนิท ความสมดุลของการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ และการทำงานของระบบประสาท ในผู้ที่มีภาวะนี้จึงลดลง ร่างกายอยู่ในภาวะเครียดเป็นระยะเวลานานเป็นเดือน เป็นปีจึงทำให้ร่างกายเสื่อมเร็วและก่อให้โรคเรื้อรังตามมา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความจำเสื่อม (อัลโซเมอร์) เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

 

แนวทางการรักษาอาการนอนกรน

การรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่

  1. การลดน้ำหนัก
  2. การใส่อุปกรณ์ดึงลิ้นหรือกรามให้เลื่อนไปด้านหน้า
  3. การจี้หรือผ่าตัดเพดานอ่อนและลิ้นไก่ด้วยเลเซอร์ หรือ Laser-assisted uvulopalatopharyngoplasty (LAUP)
  4. การผ่าตัดเพดานในช่องปากหรือตัดกล้ามเนื้อบริเวณโคนลิ้น หรือ Uvulopalatopharyngoplasty (UPPPX)
  5. การผ่าตัดเลื่อนกรามเพื่อให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น
  6. การใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกในทางเดินหายใจ(เครื่อง CPAP) เพื่อเปิดทางเดินหายใจที่ตีบแคบให้กว้างขึ้น ในปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องรับการผ่าตัดใดๆ ค่ารักษาพยาบาลถูกกว่าวิธีอื่น ใส่ได้ง่าย สบายทำให้ใส่ได้ตลอดทั้งคืน

 

เครื่อง CPAP รักษาปัญหานอนกรน

เครื่อง CPAP อาจถูกเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไป เช่น เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า หรือถูกเรียกง่ายๆ ว่า เครื่องช่วยนอนกรน เครื่องแก้อาการนอนกรน

เครื่อง CPAP (ซี-แพบ) เป็นคำย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressure หมายถึงเครื่องช่วยหายใจที่อัดแรงดันอากาศให้แก่ผู้ใช้ในขณะหายใจเข้า เพื่อเปิดขยายช่องทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างขึ้น ใช้รักษาผู้ที่มีปัญหานอนกรน หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) โดยเครื่อง CPAP นี้สามารถรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ทุกระดับอาการ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น ขั้นระดับปานกลาง (Moderate) จนถึงขั้นรุนแรง (Severe)

เครื่อง CPAP เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และได้รับการยอมรับจากแพทย์ทั่วโลก จัดเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาอาการนอนกรน และโรคหยุดหายใจขณะหลับ เครื่อง CPAP จัดเป็นวิธีการรักษาอาการนอนกรนแบบไม่ต้องผ่าตัดที่ได้ประสิทธิผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง และได้รับการยอมรับจากแพทย์ทั่วโลก

โดยทั่วไปเมื่อแพทย์ตรวจพบว่าผู้ป่วยมีอาการนอนกรนแบบอันตราย หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) จากการตรวจคุณภาพการนอน : Sleep Test คือ มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ และมีค่าดัชนีการหยุดหายใจขณะหลับ (AHI : Apnea Hypopnea Index) มากกว่า 5 ครั้งต่อชั่วโมง แพทย์จะแนะนำให้ใช้เครื่อง CPAP เพื่อการรักษา

 

ควรเลือกใช้เครื่อง CPAP แบบไหนดี

เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (Continuous Positive Airway Pressure: CPAP) เป็นการรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนขณะหลับทุกระดับความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนธรรมดาขั้นเริ่มต้น หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งมีความรุนแรงมากขึ้น หลักการในการเลือกใช้เครื่อง CPAP โดยจะเลือกแบบตั้งค่าความดันเอง (Manual CPAP) หรือใช้เครื่องแบบปรับความดันอัตโนมัติ (Auto- CPAP) ต่างก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน

การใช้เครื่องแบบปรับความดันอัตโนมัติ (Auto- CPAP) ทำให้ผู้ใช้งานสะดวกยิ่งกว่า เพราะว่าไม่ต้องกังวลเรื่องการตั้งหรือปรับค่าความดันที่ใช้ในการรักษาอาการนอนกรน และ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ แต่มีข้อเสีย คือ มีราคาแพงกว่าเครื่องชนิด Manual CPAP 

ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ แพทย์มักจะแนะนำให้ใช้เป็นเครื่อง Auto CPAP เพราะว่าคนไข้สามารถใช้งานได้สบายกว่า อึดอัดน้อยกว่า แต่ราคาก็สูงกว่าแบบ Manual CPAP แบบแรงดันคงที่ และข้อดีของเครื่อง Auto CPAP ที่เหนือกว่าเครื่อง Manual CPAP อีกข้อก็คือ ผู้ใช้ไม่ต้องคอยปรับตั้งแรงดันอยู่เรื่อยๆหากร่างกายของเรามีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เช่น อายุมากขึ้น น้ำหนักมากขึ้น หรือในบางคืนที่ต้องการแรงดันสูงกว่าปกติ เนื่องจากเหน็ดเหนื่อยจากการออกแรง หรือเล่นกีฬา หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

ในกรณีที่ไม่ได้ทำ Sleep test หรือไม่มีผลการใช้เครื่อง CPAP จาก Sleep test แนะนำให้ใช้เครื่องแบบปรับแรงดันอัตโนมัติ (Auto CPAP) เพราะเครื่องจะหาแรงดันที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้งานโดยอัตโนมัติตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องทราบค่าแรงดันก็ได้ และผู้ใช้งานก็สามารถใช้งานได้สบาย ไม่รู้สึกอึดอัด เวลาที่ต้องหายใจสวนทางกับแรงลมที่เครื่องพ่นออกมา

เครื่อง BiPAP หรือประเภทแรงดัน 2 ระดับ จะแนะนำให้ใช้ในผู้ที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับขั้นรุนแรง (Severe OSA) ซึ่งจำเป็นต้องใช้แรงดันในการรักษาสูงมาก เช่น 20 cmH2O ขึ้นไป ซึ่งหากใช้เครื่องแบบ Fixed หรือ Auto CPAP เวลาที่ผู้ใช้งานหายใจออกจะรู้สึกอึดอัดมาก เนื่องจากต้องหายใจสวนทางกับแรงลมที่เครื่องพ่นออกมา

 

ความแตกต่างระหว่าง CPAP และ BiPAP คืออะไร

เครื่อง BiPAP กับ เครื่อง CPAP เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รักษาภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจที่ได้รับความนิยม การรักษาด้วยวิธีนี้ถือเป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ Obstructive Sleep Apnea (OSA) ถ้าท่านมีปัญหานี้ แพทย์อาจจะแนะนำให้รักษาโดยเครื่อง CPAP หรือ BiPAP หลายท่านอาจสงสัยว่า อุปกรณ์ทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร เครื่อง CPAP เหมาะกับใคร และ เครื่อง BiPAP เหมาะกับใคร อุปกรณ์ชนิดไหนเหมาะกับท่านมากที่สุด

ผู้ที่มีอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ Obstructive Sleep Apnea (OSA) สามารถเลือกรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกอย่างต่อเนื่อง (CPAP) หรือ เครื่องช่วยหายใจ ชนิดแรงดัน 2 ระดับ Bi-level PAP (BiPAP) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ ตัวเลือกระหว่าง CPAP และ BiPAP นั้นขึ้นอยู่กับชนิดของภาวะหยุดหายใจขณะหลับและความรุนแรง

การรักษาด้วยเครื่อง CPAP จะใช้ในคนไข้ที่มีปัญหาการหายใจอย่างรุนแรงระหว่างหลับ เครื่อง CPAP ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับเพราะพวกเขาอาจได้รับอากาศที่ไม่เพียงพอขณะนอนหลับ นอกจากจะใช้รักษาในผู้ใหญ่แล้ว CPAP ยังใช้รักษาในทารกที่ปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ได้รับอากาศเข้าไปเพียงพอมากขึ้น CPAP แต่ละรุ่นมีขนาดและน้ำหนักแตกต่างกันออกไป แต่โดยปกติแล้วจะมีขนาดที่สามารถพกพาได้ แนะนำให้เลือก CPAP ที่มีขนาดเหมาะกับการใช้งานของคุณ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณใช้ที่บ้าน เครื่อง CPAP ที่ขนาดใหญ่อาจไม่ใช่ปัญหา แต่หากเป็นคนที่เดินทางบ่อย อาจเลือกซื้อเครื่องที่มีขนาดเล็กลง 

เครื่อง BiPAP คือเครื่องช่วยหายใจชนิดหนึ่ง มีชื่อย่อมาจาก Bilevel หรือ Bi-level Positive Airway Pressure หลักการทำงานของ BiPAP กับ CPAP มีลักษณะคล้ายกัน ตรงที่มีการส่งอากาศผ่านท่อหายใจเข้าสู่หน้ากากที่ครอบอยู่เหนือจมูก แม้ว่าหลักการทำงานของ BiPAP กับ CPAP จะคล้ายกัน แต่สิ่งหนึ่งที่แตกต่างคือหลักการทำงาน 

CPAP จะมีความดันอากาศที่เท่ากันทั้งจังหวะหายใจเข้าและหายใจออกทั้งแบบ Manual CPAP และ Auto CPAP ถ้าเป็นเครื่องแบบ Manual CPAP แรงดันจะเท่ากันตลอดทั้งคืน แต่ถ้าเป็นระบบ Auto CPAP แรงดันขึ้นอยู่กับระดับการกรน และแรงดันของเครื่อง Auto CPAP จะเท่ากันในจังหวะที่หายใจเข้าและหายใจออกตลอดทั้งคืน

การรักษาด้วย เครื่อง BiPAP มักใช้กับผู้ที่ต้องการการช่วยหายใจเป็นพิเศษ ส่วนมากมักนิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และความผิดปกติทางการแพทย์เกี่ยวกับปอดหรือระบบประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุปกรณ์เครื่อง BiPAP อาจเหมาะกับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเพราะสามารถปรับความดันขณะที่หายใจเข้าและหายใจออกได้

เครื่องช่วยหายใจ BiPAP จะมีความดันอากาศที่แตกต่างกันขณะที่มีจังหวะหายใจเข้าและออก ทั้งนี้ความดันอากาศจะสามารถตั้งค่าได้ตามความเหมาะสมของผู้ใช้ นอกจากนี้ BiPAP คือ เครื่องช่วยหายใจที่สามารถใช้รักษาโรคทางเดินหายใจบางชนิดได้เช่น โรคถุงลมโป่งพอง ความผิดปกติของระบบประสาท กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ เป็นต้น

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสองเครื่อง คือ เครื่อง CPAP จึงเหมาะกับการรักษาอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับในระดับขั้นต้นถึงขั้นปลานกลาง เครื่อง BiPAP มักใช้รักษาผู้ที่มีอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ Obstructive Sleep Apnea (OSA) ในขั้นรุนแรง

อุปกรณ์เครื่อง BiPAP กับ เครื่อง CPAP มีลักษณะภายนอกที่เหมือนกัน รวมถึงหน้ากากที่ใช้ครอบก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ อุปกรณ์ทั้งสองจะมีจุดประสงค์ในการรักษาที่แตกต่างกัน และมีข้อดีที่แตกต่างกันด้วย เครื่อง CPAP  จะใช้รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับในขั้นตอนแรก แต่เครื่อง BiPAP  จะใช้รักษาความผิดปกติของระบบประสาท ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่รุนแรงและซับซ้อนกว่า

ส่วนในเรื่องของราคา เครื่อง BiPAP จะมีราคาที่สูงกว่า เครื่อง CPAP  โดยปกติแล้วเครื่องช่วยหายใจ BiPAP มักจะใช้ตอนที่ผู้ป่วยเคยทดลองใช้ เครื่อง CPAP แล้วรู้สึกไม่ตอบโจทย์ หนึ่งในข้อดีของเครื่อง BiPAP คือความดันขณะหายใจออกไม่เท่ากับตอนหายใจเข้า ซึ่งต้องการใช้ความดันที่น้อยกว่า เครื่อง BiPAP และ เครื่อง CPAP สรุปง่ายๆ คือ เครื่อง BiPAP ช่วยในการหายใจได้ค่อนข้างดีกว่า เครื่อง CPAP 

ในการเลือกระหว่าง เครื่อง CPAP และ เครื่อง BiPAP อาจพิจารณาเรื่องความสบาย ไม่รู้สึกอึดอัดเวลาที่ใช้งาน อธิบายคือ หากผู้ป่วยลองใช้เครื่อง CPAP แล้วรู้สึกว่าอึดอัด ไม่สบาย ในช่วงที่หายใจออก ก็อาจจะลองใช้ เครื่อง BiPAP ก็อาจขจัดความรู้สึกอึดอัดไม่สบายออกไปได้

เครื่อง CPAP ยี่ห้อ Yuwell รักษาอาการนอนกรน 

เครื่อง CPAP ยี่ห้อ Yuwell รักษาอาการนอนกรน

เครื่อง BIPAP ยี่ห้อ Yuwell รุ่น YH-830 รักษาอาการนอนกรน หยุดหายใจขณะนอนหลับ 

เครื่อง Auto CPAP ยี่ห้อ micomme รุ่น Transformer C5 รักษาอาการนอนกรน หยุดหายใจขณะนอนหลับ 

เครื่อง Auto BiPAP & Auto CPAP ยี่ห้อ micomme รุ่น Transformer B5 รักษาอาการนอนกรน หยุดหายใจขณะนอนหลับ

 

คลิ๊ก!! เพื่อสอบถามโปรโมชั่นเพิ่มเติม

https://lin.ee/nAqtAGu

** สอบถามข้อมูลสินค้า  

   ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง
   Line ID : @cumedicalhome

   โทร. 086-368-5766
 

**ส่งสินค้าให้ท่านอย่างมั่นใจ รวดเร็วทันใจ บริการจัดส่งทั่วประเทศ!! 

 

อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

เลขที่จดแจ้ง 65-2-2-2-0006432

 

ดูสินค้าเครื่องCPAP เครื่องBIPAP ทั้งหมด คลิ๊กที่นี่

 

Engine by shopup.com